วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สารเสพติด

ผลกระทบที่เกิดจากการครอบครอง การใช้ และการจำหน่ายสารเสพติด
สิ่งเสพติด
     สิ่งเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
     พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
     ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ
ความหมายของยาเสพติด
          ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
 ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
          ๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
          ๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
          ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
          ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
 ความหมายโดยทั่วไป
          ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้
          1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
          2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
          3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ
 ความหมายตามกฎหมาย
          ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวมถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึง ยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสม
เยาวชนกับยาเสพติด
          เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติด คนส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มผู้ผลิตผู้ค้าและ  ผู้เสพยาเสพติด โดยเฉพาะผู้เสพยาเสพติดที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงทำให้ ้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ครู ผู้ปกครอง องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจน สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะการพยายามสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชน ให้มีชีวิตที่ดีงามห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งต้องระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสรรหาวิธีการและเลือกเฟ้นเนื้อหา ข้อความที่เข้าถึงเยาวชนได้ตรงจุด ทั้งนี้เพราะเด็กและเยาวชน นั้นจะมีลักษณะพิเศษ เช่น ไม่ชอบให้ใครว่ากล่าว ตักเตือนตรง ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่แต่จะรับข่าวสารข้อมูล ได้มากขึ้นถ้า เยาวชนด้วยกันเป็นผู้ให้ข่าวสารข้อมูลนั้น หรือตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) จึงได้จัดรายการ  โทรทัศน์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนไทยขึ้น คือ รายการ “ฮัลโหล ไทยทีน” (HelloThai Teen) ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน โดยเยาวชน และเพื่อ เยาวชน รายการ “ฮัลโหล ไทยทีน” เผยแพร่ออกอากาศทั่วประเทศทาง สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.02 - 18.30 น. เป็นประจํา
     มีสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนส่งข่าวสาร ผ่านรายการทางจดหมาย E-mail โทรศัพท์ และวิทยุ ติดตามตัวเป็นจำนวนประมาณ 4,000 ราย โดยมีพิธีกร เป็นเยาวชน และเสนอกิจกรรมทาง   เลือกของเยาวชนที่หลากหลายทั้งในด้านกีฬา ดนตรี งานอดิเรก และ การนำเสนอ ความคิดเห็น ของเด็กเยาวชน ในเรื่องป็ญหายาเสพติด หากจะมีแขกของรายการที่เป็นผู้ใหญ่เข้าไปร่วม รายการ ด้วย ก็จะต้องปรับภาษาพูดและเนื้อหาที่นำเสนอ ให้เป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล และ พูดถึงเรื่องประสบการณ์จริง ที่เยาวชนเคยพบเห็นหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเด็ก  และเยาวชน ในการพบปะกับเยาวชนของเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกัน    และปราบปราม ยาเสพติด(นายสรสิทธิ์ แสงประเสริฐ) กับน้อง ๆ เยาวชน ใน รายการ โทรทัศน์ “ฮัลโหล ไทยทีน” แต่ละครั้งได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผล   และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวอยู่ใน ิถีชีวิตของ  เด็กและเยาวชน ซึ่งผู้เขียน มองเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเผยแพร่ ่ในการพูดคุยเรื่อง ยาเสพติด กับเยาวชน ต่อไป จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงประเด็นหลัก ๆ ไว้ดังนี้
อิทธิพลของเพื่อน
           เพื่อนเป็นคนสำคัญของเราก็จริงอยู่ แต่ถ้าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราในทางที่ไม่ดี พาไปเสีย   ผู้เสียคนในฐานะที่เราเป็นเพื่อนก็ต้องให้สติด้วยการตักเตือน และปฏิเสธไม่ทำตามและชักจูง  ให้เขาได้ใช้ชีวิตที่ถูกต้อง และดีงาม แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเหลือบ่ากว่าแรงก็คงต้องโบก มือลาเลิกคบเสียดีกว่า ถือคติที่ว่า “มีเพื่อนดีเพียงหนึ่ง ถึงจะต้อง ดีกว่าเพื่อนร้อยเพื่อนเลว”
     ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เรื่องบางเรื่องจำเป็นต้องพิสูจน์   ด้วยตนเองแล้ว จึงเชื่อ แต่เรื่องยาเสพติดไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เพราะกาลเวลาผ่านมา   กี่ยุคกี่สมัย ยาเสพติดก็ยังเป็น สิ่งที่มีโทษพิษภัยต่อร่างกาย และมีผลกระทบทำลายครอบครัว ชุมชน และความมั่นคงของประเทศชาติ หากลูกหลายจะลงทุนพิสูจน์ยาเสพติด ด้วยการ  ทดลองใช้ด้วยตนเองก็เป็นการลงทุนที่สูงมาก ไม่คุ้มกับการลงทุนเพราะยาเสพติดมีฤทธิ์ ทางเภสัช ทำให้เสพติดได้ และเลิกได้ยาก บางทีอาจสูญเสียเวลา และอนาคตกับเรื่องนี้ ี้ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดทดลองเลยจะดีกว่า
เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันผู้ค้ายาเสพติด
           เยาวชนส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน มีเงินอยู่ในกระเป๋าเสมอสําหรับค่าขนม และค่าใช้จ่าย   ส่วนตัวที่จำเป็น ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองให้มา จึงทำให้ผู้ลักลอบค้ายาเสพติด  มีความมั่นใจ ว่าการค้ายาเสพติด ให้กับเยาวชน นั้นจะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ และใช้กลยุทธในการขาย  แบบขายตรง(Direct sale) ในกลุ่มเพื่อนสนิท และด้วยความเป็นเพื่อนสนิท จึงไม่กล้าเปิดเผย   ความผิดของเพื่อน และไม่กล้า ปฏิเสธเพื่อน จึงทำให้การแพร่ ระบาด ยาเสพติดเป็นไป อย่าง กว้างขวางและรวดเร็ว จึงจำเป็นที่เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันกลลวงของผู้ค้า ยาเสพติดที่จ้อง จะดูดเงินค่าขนมในกระเป๋าของเยาวชนตลอดมา
ติดกีฬาก็มีความสุขได้
            การเล่นกีฬาไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเลือกที่เบี่ยงเบนความสนใจของเยาวชนให้  ห่างไกลยาเสพติดเท่านั้น แต่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อว่า การออกกำลังกายหรือ   การเล่นกีฬานั้น จะทำให้ต่อมไร้ท่อใต้สมอง หลั่งสาร เคมีชนิดหนึ่งชื่อ “เอนโดฟีน” ออกมา  ซึ่งสารชนิดนี้จะทำให้รู้สึกสดชื่น และ เป็นสุขผู้ที่ออก กำลังกาย อยู่เสมอจึงมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์สมกับที่กล่าวว่า “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ” ดังนั้น จึงควรที่จะช่วย กันส่งเสริม ให้เยาวชน ได้ออก กำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อให้มีสาร “เอนโดฟีน” อยู่ในร่างกายเกิดความสุขได้ โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด
ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกัน
            ยาเสพติด หมายถึงสารเคมีหรือสารใดก็ตามซึ่งเมื่อบุคคลเสพหรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพและแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้
1. ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาชนิดนั้นๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้นๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม
2. ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
3. ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้นๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
สถานที่ให้คำปรึกษาด้านป้องกัน และแนะนำการบำบัดรักษาขั้นต้น
1. สำนักงานศึกษาป้องกันการติดยา(กระทรวงสาธารณสุข) 286 ถนนพระราม6 พญาไท กรุงเทพฯ โทร. 2824180-5
2. สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยศูนย์อาสาสมัครยาเสพติด ตึกมหิดล กรุงเทพฯ โทร. 2455522
3. ศูนย์สุขวิทยาจิต พญาไท กรุงเทพฯ โทร.2815241
4. สมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โทร.2452733
5. สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรุงเทพฯ โทร.2459340-9
สถานบำบัด
1. โรงพยาบาลตำรวจ แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2528111-7
2. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2461946
3. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร.5310080-8
4. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ โทร.4681116-20
5. โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. 4112191
6. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ ลุมพินี ซอยปลุกจิตต์ ถ.วิทยุ โทร.2512970
7. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ สี่พระยา โทร.2364055
8. สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จ.สระบุรี
9. สำนักสงฆ์ถ้ำเขาทะลุ จ.ราชบุรี
การป้องกันการติดยาเสพติด
1. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะติดง่ายหายยาก
2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้หายเด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
3. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
4. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 , 2525932 และที่สำนักงานคณดะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 2459350-9
ลักษณะผู้ใช้ยาเสพติด
•ตาโรยขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง แตก (เสพโดยการสูบ)
•เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง
•บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น
•ที่ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีดด้วยของมีคมตามขวาง (ติดเหล้าแห้ง ยา กล่อมประสาท ยาระงับประสาท)
•ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและเพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ
•มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีดยา โปรดหลีกให้พ้นจากบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว ชีวิตจะสุขสันต์ตลอดกาล
อันตรายจากการใช้สารระเหย
     ในปัจจุบันผู้ติดยาเสพติดได้หันไปหาตัวอื่นที่ราคาถูกกว่าหาได้ง่ายกว่ามาทดแทนผงขาว นั่นคือ "สารระเหย" ชนิดต่างๆ เช่น ทินเนอร์ผสมสี น้ำมันเบนซิน น้ำมันไฟแช็ก น้ำมันก๊าด น้ำมันแล็กเกอร์ กาวชนิดต่างๆ น้ำมันชักเงา ยาทาเล็บ ตลอดจนสเปรย์ชนิดต่างๆ โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการหนีเสือปะจรเข้เพราะสารเสพติดแบบใหม่นี้มีพิษร้ายแรงกว่าเฮโรอีนมากมายหลายสิบเท่า เพราะในขณะที่เฮโรอีนทำให้สุขภาพทั่วไปทุรดโทรมก็จริงแต่ก็ไม่ได้ทิ้งความพิการถาวรไว้ให้แก่อวัยวะใดๆ ในร่างกาย และหากเลิกเสพ พักฟื้นไม่นานสุขภาพก็จะแข็งแรงกลับสู่สภาพปกติได้ แต่พวก "สารระเหย" นี้ หากเสพติดจนติดและเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายเกิดพยาธิสภาพที่ถาวร เป็นความพิการที่ไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนสู่ปกติได้อีก (รายละเอียดในตาราง) เช่น มะเร็งในเลือด สมองพิการ ตับพิการ และที่ร้ายกว่านี้ คือพิการทางกรรมพันธุ์ด้วย คือ ไปทำให้โครโมโซม ซึ่งเป็นตัวถ่ายทอดกรรมพันธุ์ไปสู่ลูกหลาน และกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงของประเทศชาติอย่างยิ่ง พวกนักโทษที่ถูกศาลตัดสินจำคุกในความผิดต่างๆ และเป็นผู้ติดเฮโรอีน เมื่ออยู่ในคุกผงขาวก็ยิ่งหายากและราคายิ่งแพงขึ้น เป็นที่ทราบกันว่า นักโทษพวกนี้จะแย่งกันไปทำงานแผนกช่างไม้ ช่างทาสี ช่างเครื่องยนต์ เพราะจะได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดและใช้พวกน้ำมันระเหยพวกนี้
     นอกจากนี้ยังมีพวกเด็กนักเรียนมัธยมต้นและปลาย โดยเฉพาในกรุงเทพฯ และในจังหวัดภาคเหนือ มีแนวโน้มว่ามีการเสพติดยาตัวใหม่นี้กันอย่างแพร่หลาย อายุเฉลี่ยระหว่าง 8-10 ปี มักจะเสพกันเป็นกลุ่ม ในวัด ในห้องที่ลับตาคน โดยใช้ลำลี ผ้าเช็ดหน้าหรือเสื้อยืดชุบทินเนอร์จนชุ่มแล้วสูดดมเข้าปอด หมุนเวียนส่งต่อไปจนเมามาย เป็นสิ่งที่นาเวทนาอย่างยิ่ง ผู้ใหญ่ที่เห็นหรือทราบมาก็ไม่ค่อยใส่ใจ เพราะคิดว่าคงไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร หารู้ไม่ว่ามันร้ายเสียยิ่งกว่าผงขาวหลายสิบเท่า
     บางคนอาจฉีดสเปรย์เข้าตู้เสื้อผ้าหรือตู้ลับ แล้วยื่นหน้าเข้าสูดดม และเห็นว่ายาเสพติดพวก "น้ำมันระเหย" นี้ มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของใช้แทบทุกครัวเรือน หรือหาซื้อได้ทุกหนทุกแห่งด้วยราคาถูก ประกอบทั้งทุกชนิดมีกลิ่นหอมที่ประชาชนทั่วไปจำนวนไม่น้อยชอบกลิ่นของมัน (สำหรับคนส่วนใหญ่อาจรู้สึกเหม็นเวลาได้กลิ่นน้ำมันทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน สีทาบ้าน สีทาเฟอร์นิเจอร์ แล็กเกอร์ แต่ก็มีคนที่ดมแล้วรู้สึกหอมและชอบ) จึงทำให้เสพติดได้ง่ายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยเฉพาะเด็กๆ นักเรียนทั้งชายและหญิง และประชาชนทั่วไปยังไม่ทราบถึงพิษภัยอันร้ายแรงของมัน จึงเห็นเป็นเรื่องเล็ก
     พวก "สารระเหย" นี้ เมื่อสูดดมเข้าไปในกระเพาะอาหารก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในหลอดโลหิต ไหลเวียนไปสู่อวัยวะต่างๆ และส่วนต่างๆ ของร่างกายและไปออกฤทธิ์โดยตรงด้วยการไปกดสมองส่วนกลาง
     ดังนั้น พอสูดดมไม่กี่นาทีก็จะมีอาการเมา ลักษณะของคนเมา "สารระเหย" นั้น คล้ายคนเมาเหล้า คือ เวียนศรีษะตาพร่า เวลาดูอะไรจะเพ่งจ้องเหมือน "ตาขวาง" ลิ้นไก่สั้น เดินโซเซ ง่วงซึม จิตใจครึกครื้น เห่อเหิม คึกคะนอง (ซึ่งอาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่อุกอาจ เช่น ประกอบอาชญากรรมได้) สติปัญญาทึบ มีหูแว่ว ภาพหลอน ประสาทหลอน ความคิดแบบหลงผิด และหากสูดดมต่อไปจะค่อยๆ หมดสติจนถึงขั้นโคม่าและตายได้
     สาเหตุตายนั้นส่วนมากเนื่องจากสูดดมยาจนเกินขนาด ยานี้ไปกดสมองส่วนกลาง โดยเฉพาะไปกดที่ศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดหายใจ
     นอกจากนี้ ยานี้ไปออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ พิษของ "สารระเหย" ต่อร่างกาย
หากเสพเป็นเวลานานๆ จะเกิดพิษร้ายต่อร่างกายได้ 2 แบบ
1. พิษระยะเฉียบพลัน
2. พิษระยะเรื้อรัง
บทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
•ผู้จำหน่ายหรือมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง น้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท
•เกิน 100 กรัม ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
•มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท
•ผู้เสพเฮโรอีนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
•มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
•ผู้ใดเสพกัญชา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
•มีกัญชาไว้ในครอบครอง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
•ผลิต (ปลูก) กัญชา จำคุกอย่างต่ำ 2 ปี และปรับอย่างต่ำ 20,000-150,000บาท
สารระเหย สารเสพติด ผิดกฎหมาย
ตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 กำหนดมาตรการควบคุมไม่ให้นำสารระเหยมาใช้ในทางที่ผิดไว้หลายประการและกำหนดให้ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว มีความผิดและต้องรับโทษ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายสารระเหยต้องจัดให้มีภาพหรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหยดังกล่าวผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี เว้นแต่เป็นการขายโดยสถานศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขาย จัดหา หรือให้สารระเหยแก่ผู้อื่นซึ่งตนรู้หรือควรรู้ว่าเป็นผู้ติดสารระเหย ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ห้ามไม่ให้ผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบายหลอกลวงให้บุคคลอื่นใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่ายกายหรือจิตใจ ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ห้ามไม่ให้ผู้ใดใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูดดมหรือวิธีอื่นใด ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
พึงระลึกเสมอว่า การเสพติดสารระเหยนอกจากจะเป็นโทษต่อร่างกายแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย
ประเภทของยาเสพติด
ยาเสพติดที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางเสียก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ประเภทกดประสาท ยาเสพติดประเภทนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วผู้เสพจะรู้สึกเฉื่อยชา อ่อน เพลียไม่อยากทำงาน ได้แก ฝิ่น เฮโรอีน สารระเหย เหล้าแห้ง เป็นต้น
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ประเภทนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะรู้สึกคึกคัก สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กระตือรือล้นอยากทำงาน ตาสว่าง ได้แก่ ยาม้า ยาอี โคเคน และกระท่อม เป็นต้น
3. ประเภทหลอนประสาท ประเภทนี้เมื่อเสพแล้วจะรู้สึกเพ้อฝัน สร้างวิมานในอาการ สลึมสลือ ได้แก่ ยา LSD (ปัจจุบันทำให้รูปแผ่นแสตมป์ คือทำเป็นแผ่นแสตมป์บาง ๆ เคลือบด้วย LSD เสพโดยการวางไว้ที่ลิ้น) กัญชา เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
4. ประเภทออกฤทธิ์แบบผสมผสาน ประเภทนี้จะออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท หรือหลอนประสาทด้วยอาการ ของผู้เสพประเภทนี้ ระยะต้นจะมีอาการแบบหนึ่ง พอสักพักก็จะมีอาการเปลี่ยนไปอีกแบบ เช่น กัญชา เมื่อเสพใหม่ๆ จะมีอาการ เหมือนกระตุ้นแต่พอสักระยะหนึ่งจะมีอาการเซื่องซึมลง
     เมื่อก่อนนี้ยาเสพติดทีแพร่ระบาดมากที่สุดในประเทศเราคือเฮโรอีน แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แล้ว ยาเสพติดที่กำลังแพร่ ระบาดมากที่สุดได้แก่ ยาบ้า ยาอี และกำลังแพร่ระบาดเข้าสู่กลุ่มวัยรุ่นและสถาบันการศึกษาอย่างน่าเป็นห่วงยิ่ง
     ยาบ้ามีชื่อเรียกหลายชื่อแต่ชื่อที่เป็นทางการว่าแอมเฟตามิน ก่อนหน้านี้เรียกกันว่ายาม้าหรือยาขยันเพราะเชื่อกัน ว่าเมื่อเสพแล้วคึกเหมือนม้าที่กำลังจะออกจากซอง ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเปลี่ยน ชื่อยาม้าเป็นยาบ้า เพื่อเป็นการบอกให้ประชาชนทราบว่ายาชนิดนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้ว ผู้เสพจะมีสภาพไม่ผิดกับคนบ้าหรือคนที่ เสียสติ กล่าวคือ เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะทำให้มึน ประสาทตึงเครียด จิตใจสับสน กระวนกระวาย ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง หัวใจเต้น เร็วผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดการกังวล ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ทำให้ขาดสติ และเป็นต้นเหตุของการเกิด อุบัติเหตุและกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้ตัว เช่น ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายเพื่อน หรือใช้อาวุธจี้เด็กเป็นตัวประกัน เป็นต้น
     ส่วนยาอีนั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอ็คซ์ตาซี่ (ECSTASY) เป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จัดเป็นวัตถุออก ฤทธิ์ประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518 และจัดอยู่ในสารที่ต้องควบคุมตามอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ. 1971
     ยานี้มักจะพบอยู่ในรูปของแคบซูลทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีสีสรรต่าง ๆ สวยงาม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเม็ดกลมแบนสี ขาว น้ำตาล ชมพู ไม่ค่อยพบในลักษณะที่เป็นผง ในประเทศเรารู้จักกันในนามของยา "E" หรือ "XTC" หรือ "ADAM" มีชื่อทาง การค้าของกลุ่มผู้ใช้หลายชื่อ เช่น ESSENCE/LOVE DOVERS/WHITE DOVERS/DISGO BURGERS/NEW YORKERS DISGO BISCUITS และ CALIFORNIAN SUNRISE เป็นต้น
     ยาอีนี้มีฤทธิ์กระตุ้นเข่นเดียวกับยาบ้า จะออกฤทธิ์หลังเสพเข้าไปแล้วประมาณ 20-30 นาที และมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
จำแนกตามแหล่งที่มา
1.             จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ
2.             จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
จำแนกตามกฎหมาย
1.             พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ
2.             พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ติดยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น คือ
1. จากการถูกชักชวน การถูกชักชวนนี้อาจจะเกิดจากเพื่อนสนิทที่กำลังติดยาอยู่และอยากจะให้เพื่อนลองบ้าง ปัญหานี้มัก จะเกิดกับเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัว ขาดความอบอุ่น ใจแตก เอาเพื่อนเป็นที่พึ่ง
     นอกจากนี้ผู้ที่อยู่ในแหล่งที่มีการซื้อขายยาเสพติดก็อาจจะได้รับการชักจูงคุณภาพของยาเสพติดว่าดีต่าง ๆ นานา เช่น อาจ จะบอกว่าเมื่อเสพแล้วจะทำให้ปลอดโปร่งเหมาะแก่การเรียน การทำงาน การชักจูงดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ถูกชักจูง กำลังมึนเมาสุราเที่ยวแตร่กัน จึงทำให้เกิดการติดยาได้
2. จากการอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น อยากจะรู้รสชาติ อยากสัมผัส โดยคิดว่าคงจะไม่ติดง่าย ๆ แต่เมื่อทดลองเสพเข้า ไปแล้วมักจะติด เพราะยาเสพติดในปัจจุบัน เช่น เฮโรอีน จะติดง่ายมากแม้เสพเพียงครั้งหรือสองครั้งก็จะติดแล้ว
3. จากการถูกหลอกลวง ยาเสพติดมีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ผู้ถูกหลอกลวงไม่ทราบว่าสิ่วงที่ตนได้กินเข้าไปนั้นเป็นยาเสพ ติดให้โทษร้ายแรง คิดว่าเป็นยาธรรมดาไม่มีพิษร้ายแรงอะไรตามที่ผู้หลอกลวงแนะนำ ผลสุดท้ายกลายเป็นผู้ติดยาเสพติดไป
4. เหตุทางกาย ความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้องถูกผ่าตัดหรือเป็นโรคปวดศีรษะ เป็นหืดเป็นโรคประสาท ได้รับความ ทรมานทางกายมากผู้ป่วยต้องการบรรเทา พยายามช่วยตัวเองมานานแต่ก็ไม่หาย จึงหันเข้าหายาเสพติดจนติดยาในที่สุด
5. จากความคึกคะนอง บุคคลประเภทนี้คิดว่าตัวเองเป็นคนเก่งอยากลอง ซึ่งรู้แก่ใจว่ายาเสพติดให้โทษเป็นสิ่งไม่ดี แต่ด้วย ความที่คึกคะนองเป็นวัยรุ่นไม่เกรงกลัวอะไร ต้องการแสดงความเด่นดังอวดเพื่อนว่าข้านี้คือพระเอก ขาดความยั้งคิดจึงเสพยา เสพติดและติดยาในที่สุด
6. จากสิ่งแวดล้อม เช่น สถานที่อยู่อาศัยแออัด เป็นแหล่งสลัม หรือเป็นแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด ภาวะทาง เศรษฐกิจบีบคั้นจิตใจ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจผลักดันให้ผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว บางคนหันมาพึ่งยา เสพติด โดยคิดว่าจะช่วยให้ตนเองหลุดพ้นจากสภาพต่าง ๆ ที่คับข้องใจเหล่านั้นได้
7.ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง เป็นส่วนใหญ่
8.เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
9.มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
10.ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
11.สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
12.ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
13.เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้
14.อาจติดจากการเล่นการพนัน หรือ เกม 
การสังเกตผู้ติดยาเสพติด
วิธีสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติด
          จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้
 ๑ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
          - สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
          - ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
         - ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
          - ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
          - มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
          - ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
๒ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตได้จาก
          - เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
          - ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
          - ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
          - พูดจาก้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
          - ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
          - ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
          - ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
          - พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
          - มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
          - ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ 
          - ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา 
          - ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย
          - มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ
๓ การสังเกตอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
          - น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
          - กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
          - ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
          - ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
          - ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
          - มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง
          - เป็นตะคริว
          - นอนไม่หลับ
          - เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้
การรักษาผู้ติดยาเสพติด
             ผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าส่วนใหญ่จะได้แก่ ผู้ที่ทำงานในเวลากลางคืนผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ที่ต้องทำงาน ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น พนักงานขับรถโดยสารหรือรถบรรทุก ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้หญิงที่ทำงานกลางคืนตลอดจนนักเรียนนักศึกษาที่หัก โหมในการดูหนังสือ เหตุที่เป็นคนเหล่านี้เพราะคนเหล่านี้มักเข้าใจผิดคิดว่าหากใช้ยาม้าหรือ ยาบ้าแล้วจะสามารถทำงานหรือดูหนังสือได้นานมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้คำนึงถึงอันตรายและผลร้าย  ที่ตามมาภายหลังซึ่งได้แก่ สุขภาพจะทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิดใจ เพราะสมองถูกกระตุ้น ให้ทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา เมื่อยาหมดฤทธิ์จะอ่อนเพลีย เซื่องซึม เศร้าหมอ และหลับนาน 
ถ้าใช้เกินขนาดจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ดังนั้น การรักษาผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้า จะต้องประกอบไปด้วย 
             1. การให้ความรู้เกี่ยวกับยาม้าหรือยาบ้าแก่ผู้เสพติดแล้ว ให้เข้าใจโดยถ่องแท้ถึงพิษ
ของยาม้า หรือ ยาบ้า ที่มีต่อตัวผู้เสพติดทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อผู้เสพติดจะได้มีความ
  กลัวต่อผลร้ายเหล่านั้น และมีความตั้งใจที่จะเลิกยาม้าหรือยาบ้าอย่างจริงจัง
             2. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยรอบของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว 

ที่ขาดความ เข้าใจซึ่งกันและกัน ครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ครอบครัวที่ขาดความเอาใจใส่  ที่ดีพอ รวมทั้งเพื่อนฝูง หรือชุมชนโดยรอบๆ บ้านของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ตลอดจนเพื่อน  นักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน ซึ่งต้อง การการตรวจสอบหาข้อมูลอย่างจริงจัง หาข้อมูลให้ถึง  แก่นแท้ของปัญหาจากสิ่งแวดล้อม และดำเนินการ แก้ไขไปพร้อมๆ กับข้ออื่นๆ
             3. ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของผู้เสพติด และพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ที่ติดยาเสพติด 
ที่จะต้องการละ หรือเลิกเสพยาม้าหรือยาบ้าตลอดไปให้ได้
            4. ผู้เสพติดยาม้าหรือยาบ้า จะต้องไปรับการรักษาจากสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ 
เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง
   จนกว่า จะหายจากการ เสพติดอย่างเด็ดขาด
             5. ความสำเร็จในการเลิกเสพติดยาม้าหรือยาบ้า ได้ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ซึ่งนอก   เหนือจาก การช่วยตนเองแล้ว ท่านได้ช่วยเหลือครอบครัวของท่าน ท่านได้ช่วยเหลือสังคม   โดยส่วนรวม อัน หมายถึง ประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรานั่นเอง 
การป้องกันการติดยาเสพติด
        ๑. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลอง เสพยาเสพติด ทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะ ติดง่ายหายยาก
      ๒. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกันอย่าให้ กี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้อง คอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด หากมีผู้เสพ ยาเสพติด ในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ให้หายเด็ดขาดการรักษาแต่แรก เริ่มติดยาเสพติด มีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
      ๓. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้ พื่อนบ้าน รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติด ยาเสพติดจงช่วย แนะนำให้ ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
       ๔. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ ่ระบาดขอให้แจ้ง เจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติด ให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 , 0-252-5932 และที่สำนักงาน คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี
โทร. 2459350-9
ยาเสพติดป้องกันได้
       ๑. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
          • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
          • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
          • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
          • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
          • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควร
ปรึกษา ผู้ใหญ่
         ๒. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
           • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
           • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
           • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
           • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
         ๓. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
           • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
           • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที
           • สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258
โทรสาร 02-2468526
           • ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688
ข้อดีของยาเสพติด
นำไปใช้ในการรักษาโรคได้แต่ควรใช้ในปริมาณที่น้อย
พิษภัยของยาเสพติด
โทษและพิษภัยของสารเสพติด
     เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเสพติดเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัดเปรียบเสมือนเป็นฆาตรกรเงียบที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายแรงต่างๆจนอาจทำให้เสียชีวิต หรือเกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม  และชุมชนต่างๆ
โทษทางร่างกายและจิตใจ
1.สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา  อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2.ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆเปลี่ยนไปจากเดิม
3.สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย วูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆผิดปกติ
4.ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5.
 เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6.
 อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง 
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7.
 เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

โทษพิษภัยต่อครอบครัว
1.
 ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2.
 ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง 
3.
 ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4.
 สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและพี่น้อง
     ผู้ที่ติดสารเสพติดนอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้สึกว่าตนเองด้อยโอกาสทางสังคมแล้ว ยังอาจมีพฤติกรรมนำไปสู่ปัญหาด้านต่างๆ แก่สังคมได้ เพราะ
1.
 ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ ต่อตนเองและผู้อื่นได้ง่ายตลอดจนเป็นปัญหาของโรคบางอย่าง เช่น โรคเอดส์
2.
 ถ่วงความก้าวหน้าของชุมชน สังคม โดยเป็นภาระต่อส่วนรวม ที่ประชาชนต้องเสียภาษีส่วนหนึ่งมาใช้ในการปราบปรามบำบัดผู้ที่ติดสารเสพติด
3.
 สูญเสียแรงงานโดยไร้ประโยชน์บั่นทอนประสิทธิภาพ ของผลผลิต ทำให้รายได้ของชาติในส่วนรวมกระทบกระเทือน และเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติ
4.
 เนื่องจากสภาพเป็นคนอมโรคมีความประพฤติและบุคลิกลักษณะ เสื่อมจนเป็นที่รังเกียจ
ของสังคม ทำให้เป็นคนไร้สติในวงสังคม โอกาสที่จะประกอบกิจที่ผิดศีลธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิ่งเสพย์ติด เช่น พูดปด ขโมย หรือกลายเป็นอาชญากร เพื่อแสวงหาเงินซื้อสารเสพติดสิ่งเหล่านี้ล้วนทำลายอนาคตทำลายชื่อเสียงของตนเองและวงศ์ตระกูล

โทษที่ก่อให้เกิดกับส่วนรวมและประเทศชาติ
รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังคน และงบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการป้องกันปราบปรามและบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่า เกิดความไม่สงบสุขของบ้านเมือง ความมั่นคงของประเทศชาติถูกกระทบกระเทือน ประชาชนเดือนร้อนเพราะเหตุอาชญากรรม ประเทศชาติต้องสูญเสียกำลังของชาติอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะผู้ติดสารเสพติดเป็นเยาวชน
 การป้องกันสำหรับครอบครัว
1. แนะนำตักเตือนให้ความรู้ แก่สมาชิกในครอบครัวให้เกิดความตระหนักถึงโทษ พิษภัย 
ของยาเสพติด
2.
 สอดส่องดูแลสมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าติดยาให้รีบนำไปบำบัดรักษา
ทันที
3.
 กรณีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วย ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรไปปรึกษาแพทย์
4.
 พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก และเป็นที่ปรึกษาแก่ ลูก และ
สมาชิกในครอบครัวได้
5.
 พ่อแม่ ควรให้ความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ในการอบรมเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดกับลูก
พิษของยาเสพติดจะแตกต่างกันไปดังนี้ 
1พิษของยาบ้า และยาอีจะคล้ายคลึงกัน ส่วนยาเคนั้น จะแตกต่างออกไป อย่างไรก็ดีข้อมูล เรื่องของยาอีและยาเค ยังมีจำกัด
2การใช้โดยการฉีด ทำให้เกิดการติดเชื้อ การอักเสบบริเวณที่ฉีด และเป็นหนทาง ติดโรคเอดส์ได้
 
3ในกรณีที่ใช้ยาบ้าในขนาดสูง ในระยะเฉียบพลันจะทำให้ตัวร้อน เหมือนเป็นไข้ เหงื่อแตกพลั่ก ปากแห้ง ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด ตาพร่า มึนงง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดสูงฉับพลัน ตัวสั่น ควบคุมร่างกายไม่ได้ ชัก หมดสติ ในบางรายอาจเสียชีวิต จากเส้นเลือด ในสมองแตก หัวใจวาย การชัก หรือตัวร้อนจัด
4ถ้าหากใช้ยาต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ยาบ้าทำให้เกิด ความผิดปกติทางจิต คล้ายกับคนบ้า ชนิดหวาดระแวง (
Paranoid) และอาจก่อความรุนแรง หรืออาชญากรรมได้ ร่างกายจะทรุดโทรม อ่อนแอ เนื่องจากขาด          อาหารและขาดการพักผ่อน ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคติดเชื้อ ในบางครั้ง ผู้ที่ใช้ยาบ้า อาจจะทำงานหนักเกิน จนร่างกายรับไม่ไหว เกิดการบาดเจ็บหรือทุพลภาพได้
5ยาอีมีพิษเฉียบพลัน คล้ายยาบ้ารวม ได้แก่ เกิดความปรวนแปร ทางจิตอารมณ เช่น วิตกกังวลรุนแรง ซึมเศร้า ความคิดหวาดระแวง และที่สำคัญคือ ประสาทหลอน อาการพิษ ทางกายได้แก่ กล้ามเนื้อเกร็งตัว คลื่นไส้ ตาพร่า เป็นลม หนาวสั่น เหงื่อแตก
6จากผลการทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าทั้งยาบ้า และยาอี ทำลายเซลประสาทบางชนิด ทำให้สมองเสื่อมอย่างถาวร และเกิดความบกพร่อง ในการทำงาน ของร่างกายส่วนที่สมอง บริเวณนั้นควบคุม เช่น อารมณ์ การนอนหลับ การหลับนอน (ความสามารถทางเพศ) การรับรู้ความเจ็บปวด เป็นต้น
7นอกจากนั้นยังเชื่อว่า ยาบ้าและยาอี มีผลพิษต่อตัวอ่อนด้วย โดยพบว่าทารก ที่คลอดจากมารดา ที่ติดยาบ้า มักมีความผิดปกติ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
8ยาเคมีพิษเฉียบพลัน กระตุ้นทำให้จิตอารมณ์วุ่นวาย และเกิดภาวะประสาทหลอน และเมื่อใช้ขนาดสูง จะทำให้หมดสติ
สาระน่ารู้
วันต่อต้านยาเสพติดตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที5) พ.ศ.2545
การประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 เนื่องจากสภาพปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในปัจจุบันนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยแก้ไขโทษในความผิดเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครอง มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษจำนวนเล็กน้อยให้มีโทษขั้นสูงลดลงเพื่อให้เหมาะสมกับความผิด และให้บุคคลซึ่งต้องหาว่าเสพเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และให้ศาลสามารถลงโทษได้เมื่อมีคำรับสารภาพโดยพนักงานอัยการไม่ต้องสืบพยานประกอบเสมอไป และให้ศาลสามารถใช้มาตรการรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษได้กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้สมควรมีมาตรการให้ทางราชการสามารถขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และสมควรเพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษโดยให้มีการค้นได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้น การให้อำนาจสั่งตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ และเพิ่มขอบเขตให้ผู้เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือผู้เสพและจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษที่มีจำนวนเล็กน้อย มีโอกาสน้อย มีโอกาสสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาได้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งปรับปรุงบทกำหนดโทษให้ลดหลั่นกันตามความร้ายแรงของการกระทำความผิดและใช้มาตรการโทษปรับเป็นหลักในการลงโทษผู้กระทำผิดที่มุ่งหมายประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนกำหนดมาตรการควบคุมการครอบครองเพื่อจำหน่ายยาทั่วไปซึ่งมีส่วนผสมของยาเสพติดให้โทษและกำหนดวิธีการและควบคุมการโฆษณาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ การบำบัดรักษา สถานพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล เพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 
การแบ่งประเภทยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 
ได้แก่ เฮโรอีนแอลเอสดีแอมเฟตามีนและอนุพันธ์ทั้งสิ้น 15 ชนิด เป็นต้น ตัวที่สำคัญ คือ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า)เมทิลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน หรือ MDMA (ยาอี) และเมทิลีนไดออกซีแอมเฟตามีน หรือ MDA (ยาเลิฟ) เนื่องจากกำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในปัจจุบัน มีบทลงโทษสูงสุดสำหรับผู้เสพ ผู้จำหน่าย ผู้ครอบครอง นำเข้าและส่งออก ยาเสพติดให้โทษประเภทนี้ไม่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แต่อย่างใด
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 
เช่น ฝิ่น
มอร์ฟีน,โคเคนและใบโคคาโคเดอีน และเมทาโดน เป็นต้น ยาเสพติดให้โทษประเภทนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้แต่มีโทษมาก ดังนั้นต้องใช้ภายใต้ความควบคุมของแพทย์ และใช้ในเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 3
เช่นยาแก้ไอ เข้าฝิ่น ห้ามผลิต
,จำหน่าย,นำเข้า หรือส่งออก นอกจากได้รับอนุญาตโดยขออนุญาตเป็นครั้งๆไป ห้ามโฆษณาเพื่อการค้านอกจากกระทำโดยตรงต่อผู้อนุญาต การ
    กระทำผิดมีโทษดังนี้
ผู้ผลิต,นำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  
ผู้จำหน่ายหรือส่งออก
 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้นำเข้าหรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
 6 เดือน และปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  
ผู้ได้รับอนุญาตนำไปใช้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 4
เป็นสารเคมีที่ใช้ผลิตสารเสพติดประเภทที่
 1 และ 2 ห้ามผลิต,จำหน่าย,นำเข้า หรือส่งออก ครอบครองหรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาต โดยหน่วยงานของทางราชการ 
    การกระทำผิดมีโทษดังนี้
     ผู้ผลิต,นำเข้าหรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 100,000 บาท
     ผู้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
     ผู้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี – 10 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 100,000 บาท (หมายเหตุ การครอบครองตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป ถือว่าเพื่อจำหน่าย)
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5
เป็นยาเสพติดอื่นๆ เช่นกัญชา และพืชกระท่อม ห้ามผลิตนำเข้า หรือส่งออก ครอบครองหรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาต โดยหน่วยงานของทางราชการ
 การกระทำผิดมีโทษดังนี้
- ผู้ผลิต,นำเข้า หรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 150,000 บาท
*
 ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้ผลิต,นำเข้า หรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท
-
 ผู้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
*
 ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
 ผู้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุก 2 ปี – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 150,000 บาท
*
 ถ้าเป็นพืชกระท่อมผู้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท ( การครอบครองตั้งแต่ 10 กิโลกรัม ขึ้นไป ถือว่าเพื่อจำหน่าย)
ผู้เสพ
 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
 1 เดือน 
กฎหมายยาเสพติด
กฎหมายและการควบคุมการใช้ยาเสพติดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ปี พ.ศ.2522 ได้แบ่งประเภทของยาเสพติด เป็น 5 ประเภทและกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดดังนี้ 
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่
 1 เป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ได้แก่ เฮโรอีน แอมเฟตามีนและอนุพันธการกระทำผิดมีโทษดังนี้ 
-
 ผู้ผลิต,นำเข้าหรือส่งออกเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต (การครอบครองเกิน 20 กรัม ถือว่ามีเพื่อ นำเข้า,ส่งออกหรือจำหน่าย) 
-
 ผู้จำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองไม่เกิน 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก 5 ปี ถึงตลอด ชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000-  100,000 บาท 
-
 ผู้จำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองเกิน 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ ประหารชีวิต 
-
 ผู้ครอบครอง ไม่เกิน 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 100,000 บาท 
-
 ผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 100,000 บาท
กฎหมายควบคุมการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
กฎหมายควบคุมการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท  ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518
         
          1. ห้ามผู้ใด ผลิต ขาย นำเข้าหรือส่งออก วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภทที่ 1 และ 2 นอกจากกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 ขายได้โดยแพทย์ สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ เฉพาะผู้ป่วยของตน หรือกระทำโดยกระทรวง ทบวง กรม สภากาชาดไทย องค์การเภสัช หรือสถานที่ที่ราชการกำหนด
           บทลงโทษ ผู้ฝ่าฝืน ระวางโทษจำคุก 5 - 20 ปี และปรับ 100,000 - 400,000.- บาท
          2. ห้ามผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภทที่ 3 และ 4 เว้นแต่ได้ขออนุญาตแล้วตามกฎหมาย ซึ่งต้องมีเภสัชกรเป็นผู้รับผิดชอบควบคุม
          บทลงโทษ ผู้ฝ่าฝืน ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000.- บาท
          3. ห้ามผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1 ห้ามผู้ใดเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 เว้นแต่สั่งโดยแพทย์ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา ห้ามผู้ใดครอบครองหรือใช้ประโยชน์วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 1-2 โดยขาดการอนุญาต 
           บทลงโทษ ผู้ฝ่าฝืน ระวางโทษ จำคุก 1 - 5 ปี และปรับ 20,000 - 100,000.- บาท 
          4. ห้ามผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบายล่อลวงขู่เข็ญให้ผู้อื่นเสพวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท 
             บทลงโทษ ผู้ฝ่าฝืนระวางโทษจำคุก 2 - 10 ปี และปรับ 40,000 - 100,000.- บาท และถ้ากระทำต่อหญิงหรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือจูงใจเพื่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นในการกระทำผิดอาญา โทษจะเพิ่มขึ้นเป็นจำคุก 3 ปี - ตลอดชีวิต และปรับ 60,000 - 500,000.- บาท
กฎหมายควบคุมการใช้สารระเหย
กฎหมายควบคุมการใช้สารระเหยตามพระราชบัญญัติสารระเหย ปี พ.ศ. 2533
ความผิด โทษ
      1. ขายสารระเหยแก่ผู้มีอายุไม่เกิน 17 ปี (โดยไม่ใช่นำไปใช้เพื่อการศึกษา) จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      2. จัดหาหรือขายสารระเหยแก่ผู้ติดสารระเหย เสพสารระเหย ชักจูง หลอกลวง บังคับให้ผู้อื่น เสพสารระเหย จำคุกไม่เกิน 2 ปี ี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      ถ้าผู้สูดดมอายุไม่เกิน 17 ปี ศาลอาจเรียกตัวพร้อมผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน และปล่อยตัวไป แต่ถ้าเห็นว่าเป็นผู้ติดสารระเหย อาจส่งไปบำบัดรักษา ถ้าอายุเกิน 17 ปี และติดสารระเหยด้วย ศาลอาจส่งไปบำบัดรักษาเช่นกัน โดยชดเชยระยะเวลาบำบัดทดแทนค่าปรับหรือการจำคุก การบำบัดรักษาไม่ครบกำหนด โดยหลบหนีออกไป หากถูกจับได้ซ้ำจะได้รับเพิ่มขึ้น
กฎหมายและการควบคุมการใช้ยาเสพติด
กฎหมายและการควบคุมการใช้ยาเสพติดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ปี พ.ศ. 2522
ประเภทที่
 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ได้แก่ เฮโรอีนแอมเฟตามีนและอนุพันธ์ ห้ามผลิตนำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือครอบครอง หรือเสพโดยเด็ดขาด
ความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
     1. ผลิตนำเข้า หรือส่งออก เพื่อจำหน่าย ตลอดชีวิต ประหารชีวิต (การครอบครองเกิน 20 กรัม ถือว่ามีเพื่อนำเข้า - ส่งออก หรือจำหน่าย) 
     2. จำหน่าย หรือครอบครอง ไม่เกิน 20 กรัม เกิน 20 กรัม 5 ปี – ตลอดชีวิตหรือประหาร 50,000 - 100,000 บาท
     3. ครอบครอง ไม่เกิน 20 กรัม 1 ปี - 10 ปี 10,000 - 100,000 บาท
     4. เสพเข้าสู่ร่างกาย 6 เดือน - 10 ปี 5,000 - 100,000 บาท

ประเภทที่ 2 ยาเสพย์ติดให้โทษทั่วไป ได้แก่ ฝิ่นมอร์ฟีนโคเคนโคเดอีน และเมธาโดน เป็นต้น ห้ามผลิตนำเข้า - ส่งออก โดยเด็ดขาด แต่จำหน่ายหรือเสพได้ เพื่อรักษาโรคตาม คำสั่งแพทย์ทันตแพทย์และสัตวแพทย์ 
ความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
     1. ผลิตนำเข้า หรือส่งออก ถ้าหากเป็นฝิ่น มอร์ฟีน หรือโคเคน 1 ปี - 10 ปี 20 ปี - ตลอดชีวิต 10,000 - 100,000 บาท 20,000 - 500,000 บาท
     2. ครอบครอง จำคุกไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 50,000 บาท
     3. จำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่าย 1 ปี - 10 ปี 10,000 - 100,000 บาท(การครอบครองเกิน100กรัม ถือว่าเพื่อจำหน่าย) 
     4. การครอบครองมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคเคน ไม่เกิน 100 กรัม เกิน 100 กรัม 3 ปี - 20 ปี, 5 ปี - ตลอดชีวิต 30,000 - 200,000 บาท 50,000 - 500,000 บาท 
     5. เสพเข้าสู่ร่างกาย 6 เดือน - 10 ปี 5,000 - 100,000 บาท
ประเภทที่3  เช่น ยาแก้ไอเข้าฝิ่น ห้ามผลิตจำหน่าย นำเข้า - ส่งออก นอกจากได้รับอนุญาต โดยขออนุญาตเป็นครั้งๆ ไปห้ามโฆษณาเพื่อการค้านอกจากกระทำโดยตรง ต่อผู้ได้รับอนุญาต
ความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
     1. ผลิตนำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     2. จำหน่ายหรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ
     3. นำเข้าหรือส่งออกแต่ละครั้งโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
     4. ถ้าผู้รับอนุญาตนำไปใช้กระทำผิด ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 50,000 บาท
ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ผลิตสารประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามผลิตนำเข้า - ส่งออก ครอบครอง หรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาต  ได้แก่ หน่วยงานของทางราชการ 
ความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
     1. ผลิตนำเข้า หรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต 1 ปี - 10 ปี 10,000 - 100,000 บาท 
     2. ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่เกิน 5 ปี1 ปี - 10 ปี ไม่เกิน 50,000 บาท    10,000 - 100,000 บาท(การครอบครองตั้งแต่ 10 กิโลกรัม ขึ้นไป ถือว่าเพื่อจำหน่าย) ห้ามผลิตจำหน่าย นำเข้า - ส่งออก นอกจากได้รับอนุญาต โดยขออนุญาตเป็นครั้งๆ ไป ห้ามโฆษณาเพื่อการค้านอกจากกระทำโดยตรงต่อผู้ได้รับอนุญาต

ความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
     1.  ลิตนำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 30,000 บาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ
     2. จำหน่ายหรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ
     3. นำเข้าหรือส่งออกแต่ละครั้งโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เกิน 6 เดือนไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
     4. ถ้าผู้รับอนุญาตนำไปใช้กระทำผิด ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 50,000 บาท
ประเภทที่
 5 สารเสพย์ติดอื่นๆ เช่น กัญชาและพืชกระท่อม ห้ามผลิตนำเข้า - ส่งออก ครอบครอง หรือจำหน่าย นอกจากได้รับนอกจากได้รับอนุญาต โดยหน่วยงานของทางราชการ
ความผิด โทษจำคุก โทษปรับ
     1. ผลิตนำเข้า - ส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต ถ้าเป็นพืชกระท่อม 2 ปี - 15 ปี ไม่เกิน 2 ปี 20,000 - 150,000 บาทไม่เกิน 20,000 บาท
     2. ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ถ้าเป็นพืชกระท่อม ไม่เกิน 5 ปีไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 50,000 บาทไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
ครอบครองเพื่อจำหน่าย
    ถ้าเป็นพืชกระท่อม 2 - 5 ปีไม่เกิน 2 ปี 20,000 - 150,000 บาท ไม่เกิน 20,000 บาท(การครอบครองตั้งแต่ 10 กิโลกรัม ขึ้นไป ถือว่าเพื่อจำหน่าย) 
     3. เสพเข้าสู่ร่างกาย ถ้าเป็นพืชกระท่อม ไม่เกิน 1 ปีไม่เกิน 1 เดือนไม่เกิน 10,000 บาทไม่เกิน 1,000 บาท 
การทำให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดทั้ง
 5 ประเภท
ความผิด โทษจำคุก โทษปรับ

     1. ใช้อุบาย ข่มขู่ ล่อลวง หรือบังคับ 1 ปี - 10 ปี 10,000 - 100,000 บาท
     2. ใช้อาวุธหรือกระทำ 2 คนขึ้นไป 2 ปี - 15 ปี 20,000 - 150,000 บาท
     3. กระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 3 ปี - ตลอดชีวิต 30,000 - 500,000 บาท
     ถ้าเป็นประเภท 1 ต้องเพิ่มโทษเป็น 2 เท่า และ ถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โทษประหารชีวิต
     ถ้ามอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคเคน ต้องเพิ่มโทษอีก กึ่งหนึ่ง และถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุ นิติภาวะ ตลอดชีวิต 200,000 - 500,000 บาท
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดใหม่ต่างจากเดิมอย่างไร
พระราชบัญญัติเก่า ผู้เสพเมื่อเข้ารับการบำบัดรักษาไม่ต้องรับโทษไม่ถือว่าเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย พระราชบัญญัติใหม่ ผู้เสพหากไม่เข้ารับการบำบัดรักษา ถือว่าเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายแต่ไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ถือว่าเป็นผู้ป่วยต้องเข้ารับการบำบัดรักษา ผู้กระทำผิดมี 4 วิธี ประเภทที่เข้ากับพระราชบัญญัติ คือ ผู้เสพ
1.             ผู้เสพและผู้ครอบครอง
2.             ผู้เสพและครอบครองเพื่อจำหน่าย
3.             ผู้จำหน่ายเพียงเล็กน้อย
 การแยกประเภทของยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
 ยาเสพติดให้โทษแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ดังนี้
     ยาเสพติดให้โทษประเภท1 ได้แก่ เฮโรอีนแอลเอสดีแอมเฟตามีนหรือยาบ้า ยาอี และยาเลิฟ เนื่องจากกำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในปัจจุบัน มีบทลงโทษสูงสุดสำหรับผู้เสพ ผู้จำหน่าย ครอบครอง นำเข้าและส่งออก ยาเสพติดให้โทษประเภทนี้ ไม่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แต่อย่างใด 
     ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เช่น ฝิ่นมอร์ฟีนโคเคนและใบโคคาโคเดอีน และเมทาโดน เป็นต้น ยาเสพติดให้โทษประเภทนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้แต
มีโทษมาก ดังนั้นต้องใช้ภายใต้ความควบคุมของแพทย์ และใช้ในเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
 
     ยาเสพติดให้โทษประเภท 3 เป็นยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นตามทะเบียนตำรับที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว มีจำหน่ายตามร้านขายยา ได้แก่ ยาแก้ไอที่มีตัวยาโคเดอีน หรือยาแก้ท้องเสีย ยาฉีดระงับปวดต่างๆ เช่น มอร์ฟีนเพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่นยาแก้ปวดที่มีโคเดอีนผสมอยู่ เป็นต้น ยาเสพติดให้โทษประเภท 3 มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพย์ติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ 
     ยาเสพติดให้โทษประเภท 4 คือ สารเคมีที่นำมาใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 2 เช่น น้ำยาเคมี อาเซติดแอนไฮไดรด์ (Acetic anhydride) และอาเซติลคลอไรด์ (Acetyl chloride) ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีนสารเออร์โกเมทรีนหรือคลอซูโดอีเฟดรีน ซึ่งสามารถใช้ผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท อีก12 ชนิดที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้ เป็นต้น ยาเสพติดให้โทษประเภทนี้ ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรคแต่อย่างใด มีบทลงโทษกำกับไว้เช่นเดียวกัน

     ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม พืชฝิ่น
 คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดประกอบด้วยใครบ้าง
     คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดประจำเขตพื้นที่ต่างๆ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน คณะอนุกรรมการ แพทย์หนึ่งคน นักจิตวิทยาหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวงไม่เกินสองคนเป็นอนุกรรมการ และผู้แทนกรมคุมประพฤติหนึ่งคนเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
บทบาทและหน้าที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
     คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์เป็นผู้เสพ หรือเป็นผู้ติดยาเสพติดและต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ถ้าผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นที่พอใจ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพจะมีคำสั่งให้พ้นจากการเป็นผู้เสพหรือผู้ติดไป แต่ถ้าผลการฟื้นฟูสมรรถภาพไม่เป็นที่พอใจอาจจะขยายระยะเวลาการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดออกไปครั้งละไม่เกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี หรือส่งตัวคืนให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อดำเนินคดีต่อไป
นโยบายของรัฐบาลกับการบำบัดรักษายาเสพติด
     จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องเอาชนะยาเสพติดจึงมีนโยบายให้กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายชัดเจนว่ากระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดบริการ บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดยาให้ครอบคลุมทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดเป้าหมายการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยนอก แบบจิตสังคมบำบัด ให้ได้อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง ในปีงบประมาณ 2545 และให้ครอบคลุมทุกโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ในปี 2545 ซึ่งเปิดให้บริการได้ครบหมดแล้ว
พรบ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในสถานประกอบการ
    • พรบ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ฉบับที่ 3 พ.ศ.2543 ได้กำหนดการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการมีมาตรการ ดังนี้
1.             มาตรการเกี่ยวกับตัวบุคคล หรือผู้เป็นเจ้าของสถานประกอบการต้องดูแลสอดส่อง พนักงานหรือบุคคลภายนอกมิให้มั่วสุมและทำผิดด้านยาเสพติด โดยมีการอบรมพนักงาน เพื่อให้มีความรู้ป้องกันยาเสพติด จัดทำบันทึกประวัติ ทะเบียน ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการให้ข้อมูลด้านยาเสพติด อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบหาสารเสพติดตามกฎหมาย
2.             มาตรการสถานที่ จะต้องมีป้าย ประกาศเตือนโทษทางกฎหมายและโทษพิษภัยยาเสพติดให้เห็นชัดเจน
3.             มาตรการตรวจสารเสพติดของผู้ใช้แรงงาน เพื่อเป็นการป้องปราบมิให้พนักงานใช้ยาเสพติด ซึ่งจะเป็นการป้องกันอุบัติเหตุอุบัติภัยในขณะปฏิบัติหน้าที่ได้
4.             มาตรการช่วยเหลือแก่ผู้มีปัญหายาเสพติด สถานประกอบการควรให้การช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แนะนำ ตักเตือน ส่งบำบัดรักษาและติดตามพฤติกรรมเพื่อมิให้ติด
5.             มาตรการลงโทษสถานประกอบการ ที่ปล่อยปละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันปราบปรามยาเสพติด เริ่มจากตักเตือน สั่งปิดชั่วคราว จนถึงสั่งพักใบอนุญาตใบประกอบการเป็นเวลา 15 วัน ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขกำหนด
มาตรการแก้ไขปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ.2542
  มาตรการสำคัญ 3 ประการ การแก้ไขปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ.2542 ประกอบด้วย
มาตรการป้องกัน
1.             การรณรงค์ใ ห้ข้อมูลข่าวสารและสร้างจิตสำนึก โดยหน่วยงานของรัฐให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักถึงบทกำหนดโทษต่างๆ ที่จะได้รับเมื่อกระทำผิดในคดียาเสพติดตามกฎหมายและโทษทางวินัย
2.             การประชาสัมพันธ์ชมเชยเจ้าหน้าที่ของรัฐด้านการปราบปรามยาเสพติดด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และมีผลงานดีเด่น
3.             สนับสนุนให้เกิดมาตรการควบคุมทางสังคมเพื่อสอดส่องดูแลพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐในรูปแบบต่างๆ
4.             การสอดส่องดูแลเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น และพิจารณาความบกพร่องของผู้บังคับบัญชาที่เพิกเฉยหรือละเลย
5.             ให้หน่วยราชการต่างๆ ตามที่ได้กำหนดจัดให้มีระบบข่าวและศูนย์รับแจ้งข้อมูลข่าวสารในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
มาตรการปราบปราม 
1.             การดำเนินการทางวินัยอย่างเข้มงวดควบคู่กันไป เมื่อปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกจับกุมในคดียาเสพติด
2.             การพิจารณา โอนคดี และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการบนการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดใ นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกจับกุมในคดียาเสพติดและความรับผิดชอบเกี่ยวกับ ยาเสพติดในฐานความผิดตั้งแต่ครอบครองเพื่อจำหน่ายขึ้นไป
3.             การพิจารณาคัดค้านคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวด้วยความรอบคอบ
มาตรการทางการบริหารและการปกครอง
1.             ให้หน่วยราชการต่างๆ ตามที่ได้กำหนด จัดให้มีระบบการรายงานข่าวและศูนย์รับแจ้งข้อมูล ข่าวสารในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2.             การจัดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ประจำกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาครวม 5 คณะ
3.             การใช้มาตร การโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐออกนอกพื้นที่ของผู้บังคับบัญชา ในกรณีที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแต่ผลการสอบสวนไม่แน่ชัด
4.             การใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนขั้น ยศ และความดีความชอบประจำปี
มาตรการป้องกันปัญหายาเสพติด
1.             การรณรงค์ให้ข้อมูลข่าวสารและสร้างจิตสำนึก โดยหน่วยงานของรัฐให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักถึงบทกำหนดโทษต่างๆ ที่จะได้รับเมื่อกระทำผิดในคดียาเสพติดตามกฎหมายและโทษทางวินัย
2.             การประชาสัมพันธ์ชมเชยเจ้าหน้าที่ของรัฐด้านการปราบปรามยาเสพติดด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และมีผลงานดีเด่น
3.             สนับสนุนให้เกิดมาตรการควบคุมทางสังคมเพื่อสอดส่องดูแลพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐในรูปแบบต่างๆ
4.             การสอดส่องดูแลเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น และพิจารณาความบกพร่องของผู้บังคับบัญชาที่เพิกเฉยหรือละเลย
5.             ให้หน่วยราชการต่างๆ ตามที่ได้กำหนดจัดให้มีระบบข่าวและศูนย์รับแจ้งข้อมูลข่าวสารในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
มาตรการปราบปรามปัญหายาเสพติด
1.             การดำเนินการทางวินัยอย่างเข้มงวดควบคู่กันไป เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกจับกุมในคดียาเสพติด
2.             การพิจารณาโอนคดี และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการบนการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกจับกุมในคดียาเสพติดและความรับผิดชอบเกี่ยวกับยาเสพติดในฐานความผิดตั้งแต่ครอบครองเพื่อจำหน่ายขึ้นไป
3.             การพิจารณาคัดค้านคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวด้วยความรอบคอบ
มาตรการทางการบริหารและการปกครอง
1.             ให้หน่วยราชการต่างๆ ตามที่ได้กำหนด จัดให้มีระบบการรายงานข่าวและศูนย์รับแจ้งข้อมูล ข่าวสารในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2.             การจัดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ประจำกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาครวม 5 คณะ
3.             การใช้มาตรการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐออกนอกพื้นที่ของผู้บังคับบัญชา ในกรณีที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแต่ผลการสอบสวนไม่แน่ชัด
4.             การใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนขั้น ยศ และความดีความชอบประจำปี
โรงงาน กับ พรบ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  • โรงงานตาม พรบ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ฉบับที่ 3 (2543) ได้มีความหมายถึง อาคาร สถานที่ หรือ ยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังงานตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้า ขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยจะใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม เช่น เรือประมง โรงเลื่อย อู่ซ่อมรถบำรุงรถ โรงสี เป็นต้น ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการของตน
  • ซึ่งปัจจุบันมีโทษกำหนดไว้ด้วย ถ้าโรงงานท่านไม่ปฏิบัติตามหน้าที่คนหรือปล่อยให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ โรงงานของท่านต้องร่วมกันช่วยเหลือประเทศชาติเรา สอดส่องดูแลร่วมกันนะคะปัญหายาเสพติดของประเทศเราจะได้ลดลงค่ะ
  • ข้อดีของยาเสพติดที่เรียกว่า กัญชา
         การใช้กัญชาเพื่อบรรเทาหอบหืด ยาแก้หอบหืดทุกตัวมีข้อเสียคือมีข้อจำกัด ทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียง เนื่องจากกัญชาขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม
        การใช้กัญชาในการรักษาต้อหิน คือ การรักษาตาต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ คนตาบอดในสหรัฐ คนอเมริกาเกือบล้านที่ป่วยด้วยต้อหินที่รักษาได้ด้วยกัญชา กัญชาทำให้ความดัน ภายในลูกนัยน์ตาลดลงได้ดีหลายชั่วโมงในคนปกติและในคนที่ความดันลูกนัยน์ตาสูงจากต้อหิน การให้กัญชาทางปากหรือทางหลอดเลือดดำให้ผลเหมือนกัน ซึ่งขึ้นกับชนิดอนุพันธ์กัญชามากกว่า จะเกิดจากฤทธิ์กล่อมประสาทของกัญชา กัญชาไม่ได้รักษาโรคขาด แต่ช่วยยับยั้งการบอดไม่ให้เป็นมากขึ้น เมื่อยาทั่วไปไม่อาจช่วยได้ และการผ่าตัดเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป
        อนุพันธ์กัญชามีประโยชน์หลายอย่างในการบำบัดมะเร็ง อาจใช้เป็นสารกระตุ้นความ อยากอาหาร กัญชาจะช่วยชะลอน้ำหนักลดในผู้ป่วยมะเร็ง กัญชายับยั้งการเติบโตของเซลมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ผลยังไม่เป็นที่สรุป และอนุพันธ์กัญชาอีกชนิดคือ cannabidiol ดูจะทำให้มะเร็งโตเร็วขึ้น บางทีกัญชาเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันการโตของมะเร็ง แต่สิ่งที่กัญชาช่วยได้แน่ในการบำบัดมะเร็งคือการป้องกันการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด เกือบครึ่งของผู้ป่วยที่รับยาต้านมะเร็งต้องทุกข์จากการคลื่นไส้อาเจียนอย่างแรง ประมาณร้อยละ 25 ถึง 30 ของผู้ป่วยเหล่านี้ ยาแก้อาเจียนทั่วไปใช้ไม่ได้ผล อาการคลื่นไส้อาเจียนไม่เพียงแต่ ไม่น่าพอใจแต่ยังรบกวนประสิทธิภาพการบำบัดรักษาด้วย การอาเจียนอาจทำให้เกิดการฉีกขาด ของหลอดอาหารและซี่โครงหัก ทำให้ไม่ได้รับอาหารเพียงพอ และสูญเสียน้ำ


    แหล่งอ้างอิง




                          

    http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif